เมนู

วิเวกเป็นสุขของผู้ยินดี มีธรรมอันสดับแล้ว
พิจารณาเห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือ ความ
สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความเป็นผู้
มีราคะไปปราศแล้ว คือ ความก้าวล่วงซึ่งกาม
ทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก ความนำออกซึ่ง
อัสมิมานะเสียได้ นี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง.

จบมุจจลินทสูตรที่ 1

มุจลินทวรรควรรณนาที่ 2*



อรรถกถามุจลินทสูตร



มุจจลินทวรรค สูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ต้นจิกท่านเรียกว่า มุจลินท์ ในคำว่า มุจลินฺทมูเล นี้ มุจลินท์
นั้น ท่านเรียกว่า นิจุละ ดังนี้ก็มี, ที่ใกล้ต้นมุจลินท์นั้น. แต่อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า บทว่า มุจโล เป็นชื่อของต้นไม้นั้น, แต่บทว่า มุจโล
นั้น ท่านกล่าวว่า มุจลินท์ เพราะเป็นไม้ใหญ่ที่สุดในป่า.
บทว่า มหาอกาลเมโฆ ได้แก่ มหาเมฆที่เกิดขึ้นในเมื่อยังไม่ถึง
ฤดูฝน. จริงอยู่ มหากาลเมฆนั้นเกิดขึ้นเต็มห้องจักรวาลทั้งสิ้น ในเดือน
สุดท้ายของคิมหันตฤดู. บทว่า สตฺตาหวทฺทลิกา ความว่า เมื่อมหาอกาล-
เมฆนั้นเกิดขึ้นแล้ว ได้มีฝนตกไม่ขาดตลอด 7 วัน. บทว่า สีตวาตทุทฺทินี
ความว่า ก็ฝนตกพรำตลอด 7 วันนั้น ได้ชื่อว่า ทุททินี เพราะเป็นวันที่
ลมหนาวเจือด้วยเมล็ดฝนพัดวนเวียนไปรอบ ๆ ประทุษร้ายแล้ว.
* พระสูตรเป็น มุจจลินทสูตร อรรถกถาเป็น มุจลินทสูตร.

บทว่า มุจลินฺโท นาม นาคราชา ได้แก่ พระยานาคผู้มีอานุภาพ
มาก บังเกิดในนาคภพอยู่ภายใต้สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์นั้นแหละ.
บทว่า สกภวนา แปลว่า จากภพนาคของตน. บทว่า สตฺตกฺขตฺตุํ โภเคหิ
ปริกฺขิปิตฺวา
ความว่า เอาขนดแห่งร่างของตนล้อมพระกายพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า 7 รอบ. บทว่า อุปริมุทฺธนิ มหนฺตํ ผณํ วิหจฺจ ความว่า แผ่
พังพานใหญ่ของตนเบื้องบนส่วนพระเศียรของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ปาฐะ
ว่า ผณํ กริตฺวา ดังนี้ก็มี. อรรถก็อันนั้นแหละ.
ได้ยินว่า พระยานาคนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคนไม้ใกล้ภพของเรา และฝนพรำตลอด 7 วันนี้
ยังเป็นไปอยู่ ควรจะได้ที่พักสำหรับพระองค์. พระยานาคนั้นเมื่อไม่
สามารถจะนิรมิตปราสาทอันแล้วด้วยรัตนะ 7 ก็คิดว่า เมื่อเราทำอย่างนี้
จักชื่อว่าไม่ได้ยึดกายให้เป็นสาระ เราจักทำความขวนขวายทางกายแก่พระ
ทศพล จึงนิรมิตกายให้ใหญ่ ใช้ขนดล้อมพระศาสดา 7 รอบแล้วแผ่
พังพานไว้ในเบื้องบน. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาขันธกะว่า ภายในวงล้อม
มีขนาดเท่าห้องภัณฑาคารที่เก็บของในโลหปราสาท. แต่ในอรรถกถา
มัชฌิมนิกายท่านกล่าวไว้ว่า มีขนาดเท่าภายใต้โลหปราสาท. ได้ยินว่า
พระยานาคมีอัธยาศัยดังนี้ว่า พระศาสดาจักประทับอยู่ด้วยอิริยาบถที่ทรง
มุ่งมาดปรารถนา. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละ
ยับยั้งอยู่สัปดาห์หนึ่ง. ก็ที่นั้นได้เป็นประหนึ่งกูฏาคาร มีหน้าต่างปิด
มิดชิดประตูมีลิ่มสลักสนิทดี. คำมีอาทิว่า มา ภควนฺตํ สีตํ เป็นคำ
แสดงเหตุที่พระยานาคนั้นทำอย่างนั้น. จริงอยู่ พระยานาคนั้นคิดว่า ขอ
ความหนาว ความร้อน สัมผัสแห่งเหลือบเป็นต้น อย่าเบียดเบียนพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเลย จึงได้กระทำอย่างนั้นอยู่. ในการกระทำอันนั้น เฉพาะ
ความร้อนย่อมไม่มี เพราะฝนตกพรำตลอด 7 วัน ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ถ้าฝนขาดเม็ดเป็นระยะ ๆ ความร้อนก็จะพึงมี ความร้อนแม้นั้น ก็อย่า
ได้เบียดเบียนเลย เพราะฉะนั้น พระยานาคนั้นคิดอย่างนั้นก็ควรแล้ว.
แต่ในข้อนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ศัพท์ว่า อุณหะ ความร้อน
เป็นการระบุถึงเหตุในการเอาขนดล้อมให้ไพบูลย์กว้างขวาง. ก็เมื่อทำวง
ล้อมของขนดเล็ก ไออุ่นอันเกิดจากร่างของพระยานาคจะพึงเบียดเบียน
พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่เพราะกระทำวงขนดกว้างขวาง ความร้อนเช่นนั้น
ก็เบียดเบียนไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระยานาคจึงได้ทำเช่นนั้นอยู่.
บทว่า วิทฺธํ แปลว่า ปลอดโปร่ง. อธิบายว่า ชื่อว่าอยู่ห่างไกล
เพราะปราศจากเมฆ. บทว่า วิคตพลาหกํ แปลว่า ปราศจากเมฆ. บทว่า
เทวํ ได้แก่ อากาศ. บทว่า วิทิตฺรา ได้แก่ รู้ว่า บัดนี้ อากาศปราศจาก
เมฆ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีอันตรายจากวิโรธิปัจจัย มีความหนาวเย็น
เป็นต้น. บทว่า วินิเวเฐตฺวา แปลว่า คลายขนดแล้ว. บทว่า สกวณฺณํ
ได้แก่ รูปนาคของตน. บทว่า ปฏิสํหริตฺวา ได้แก่ ให้หายไปแล้ว. บทว่า
มาณวกวณฺณํ ได้แก่ รูปกุมารน้อย.
บทว่า เอตมตฺถํ ความว่า รู้ความนี้โดยอาการทั้งปวงว่า ความสุข
เท่านั้น ย่อมมีในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแก่ผู้เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวก. บทว่า
อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงถึงอานุภาพแห่งความสุข
อันเกิดแต่วิเวก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุโข วิเวโก ได้แก่ อุปธิ-
วิเวก กล่าวคือพระนิพพานเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข. บทว่า ตุฏฺฐสฺส

ได้แก่ ผู้ยินดีด้วยสันโดษในจตุมรรคญาณ. บทว่า สุตธมฺมสฺส ได้แก่
ผู้มีธรรมอันพระองค์ทรงประกาศแล้ว คือปรากฏแล้ว. บทว่า ปสฺสโต
ได้แก่ ผู้เห็นวิเวกนั้น หรือสิ่งที่ชื่อว่าจะพึงเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด
ด้วยญาณจักษุที่บรรลุด้วยกำลังแห่งวิริยะของตน. บทว่า อพฺยาปชฺฌํ
ได้แก่ ภาวะอันไม่กำเริบ. ด้วยบทว่า อพฺยาปชฺฌํ นั้น พระองค์ทรง
แสดงถึงส่วนเบื้องต้น มีเมตตาเป็นอารมณ์. บทว่า ปาณภูเตสุ สํยโม
ความว่า และความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย คือความไม่เบียดเบียน เป็น
เหตุนำมาซึ่งความสุข. ด้วยบทว่า ปาณภูเตสุ สํยโม นี้ พระองค์ทรง
แสดงถึงส่วนเบื้องต้น อันมีกรุณาเป็นอารมณ์. บทว่า สุขา วิราคตา
โลเก
ความว่า แม้ความเป็นผู้ปราศจากราคะ เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข
ในโลก. ถามว่า เช่นไร ? ตอบว่า เพราะผ่านพ้นกามทั้งหลายได้
อธิบายว่า แม้ความเป็นผู้ปราศจากราคะที่ท่านเรียกว่า การผ่านพ้นกาม
ทั้งหลาย เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข. ด้วยคำว่า กามานํ สมติกฺกโม นี้
พระองค์ตรัสหมายอนาคามิมรรค. ก็ด้วยคำว่า อสฺมิมานสฺส วินโย นี้
พระองค์ตรัสหมายเอาพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหัตตรัสว่า อสฺมิมานสฺส
ปฏิปสฺสทฺธิวินโย
การกำจัดอัสมิมานะด้วยปฏิปัสสัทธิ. ก็ชื่อว่าความสุข
อันยิ่งไปกว่านี้ ย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เอตํ เว ปรมํ สุขํ
บทนี้แล เป็นสุขอย่างยิ่ง. พระองค์ทรงยึดเอายอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัต
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถามุจลินทสูตรที่ 1

2. ราชสูตร



ว่าด้วยพระราชาองค์ไหนมีสมบัติมากกว่ากัน



[52] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล เมื่อภิกษุ
มากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันในศาลาเป็น
ที่บำรุง เกิดสนทนาขึ้นในระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บรรดา
พระราชาสองพระองค์นี้ คือพระเจ้าแผ่นดินมคธจอมทัพพระนามว่าพิม-
พิสารก็ดี พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี องค์ไหนหนอแลมีพระราชทรัพย์มาก
กว่ากัน มีโภคสมบัติมากกว่ากัน มีท้องพระคลังมากกว่ากัน มีแว่นแคว้น
มากกว่ากัน มีพาหนะมากกว่ากัน มีกำลังมากกว่ากัน หรือมีอานุภาพ
มากกว่ากัน การสนทนาในระหว่างของภิกษุเหล่านั้นค้างเพียงนี้ ครั้งนั้น
แล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยัง
ศาลาเป็นที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่บุคคลปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัส
ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุม
สนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ การสนทนาในระหว่างของเธอทั้งหลาย
ที่ยังค้างอยู่เป็นอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตภาย
หลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันในศาลาเป็นที่บำรุง เกิดสนทนากันขึ้นใน
ระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บรรดาพระราชาสองพระองค์นี้คือ
พระเจ้าแผ่นดินมคธจอมทัพพระนามว่าพิมพิสารก็ดี พระเจ้าปเสนทิโกศล
ก็ดี องค์ไหนหนอแลมีพระราชทรัพย์มากกว่ากัน มีโภคสมบัติมากกว่ากัน